Metal Sheet

เมทัลชีท หรือ เม็ทเทิ่ลชีท ก็คือแผ่นหลังคาเหล็กนั้นเอง มีข้อดีหลายประการด้วยกัน มีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน สามารถนำมาดัดพับขึ้นรูปได้ง่าย แผ่นเมทัลชีท ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายส่วนของตัวอาคาร ไม่ใช่แต่จะนำมาใช้ทำ หลังคาเหล็ก (Steel Roof) หรือที่เรียกว่า หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet Roof) เท่านั้น แผ่นเมทัลชีท ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็น แผ่นฝ้าเพดานเหล็ก (Spandrel) ผนังเมทัลชีท (Siding) กันสาดเมทัลชีท (Canopy) แผ่นปิดครอบ (Flashing), แผ่นบานเกล็ด (Louver) ได้ด้วย จริงๆแล้วในงานก่อสร้าง เราสามารถพบเห็นตัวอาคาร หรือ โรงงาน ที่สร้างด้วยแผ่นเมทัลชีท ปิดโดยรอบทั้งตัวอาคาร
แผ่นหลังคาเมทัลชีท เม็ทเทิ่ลชีท (Metal Sheet Roof) มีหลายแบบหลายสี หลายลอน หลายความหนา ให้เลือกใช้ ราคาแตกต่างกัน ผู้จัดซื้อจัดหา หรือ เจ้าของบ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีความรู้ความเข้าใจ คุณสมบัติต่างๆ และการเลือกใช้วัสดุมุงหลังคา เพื่อให้สามารถที่จะเลือกใช้วัสดุหลังคา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และได้งานที่สมบูรณ์แบบ

metal sheet

Metal Sheet หรือ เมทัลชีท (ออกเสียงให้ถูกคือ เม็ทเทิ่ลชีท) หมายถึง แผ่นโลหะที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งอาจจะเป็นโลหะอะไรก็ได้ เช่น เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม ฯลฯ แต่ที่ของเมืองไทยส่วนใหญ่จะหมายถึงแผ่นเหล็กที่เอามารีดเป็นแผ่นลอน ๆ ตามรูปลอนที่ออกแบบกันไว้ต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะเอามามุงเป็นหลังคา หรือกั้นเป็นผนัง รวมทั้งเอามาขึ้นรูปเป็นบานเกล็ดเป็นครอบมุมต่าง ๆ แผ่น Metal Sheet ก่อนเอามารีดลอนหรือขึ้นรูปโดยทั่วไปเท่าที่เห็นกันมีอยู่ 2 ลักษณะคือ แผ่นเคลือบอลูซิงค์ (Aluzinc) และแผ่นเคลือบสี

  1. แผ่นเคลือบอลูซิงค์ เป็นการเอาเหล็กมาเคลือบสารที่มีส่วนผสมหลักเป็นสังกะสี (Zinc) และอลูมิเนี่ยม เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากการเป็นสนิม และแลดูสวย เงางามกว่าการเคลือบสังกะสีอย่างเดียวอย่างแผ่นสังกะสีทั่วๆไป
  2. แผ่นเคลือบสี เป็นการเอาเหล็กมาเคลือบอลูซิงค์(Aluzinc) หรือเคลือบสังกะสี (Zinc) อย่างเดียว (ตามแต่ละมาตรฐาน) ก่อนที่จะเคลือบสีให้สวยงามทับไปอีกครั้งหนึ่ง
มาตรฐาณโค้ดที่ควรรู้เกี่ยวกับ Metal Sheet
  • BMT (Base Metal Thickness) คือ ความหนาของเนื้อเหล็กก่อนเคลือบอลูซิงค์
  • TCT (Total Coated Thickness) คือ ความหนารวมเคลือบอลูซิงค์และเคลือบสีแล้ว
  • AZ 50, AZ 70, AZ 90, AZ 100, AZ 150 คือ ระดับดับการเคลือบสารอลูซิงค์หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเมตรทั้ง 2 หน้า ซึ่งการเคลือบสารที่มากกว่าจะทำให้แผ่น Metal Sheet ทนทานนานกว่า ซึ่งความทนทานนี้จะไม่ขึ้นกับความหนาของแผ่นเหล็กก่อนเคลือบ
  • G300, G550 คือ ค่า Yield Strength คือค่าบอกการดึงเพื่อให้เหล็กแข็งขึ้น หน่วยเป็น Mpa (ขออธิบายนิดหนึ่งว่า เหล็กเมื่อโดนดึงออกมันจะแข็งขึ้นจนถึงค่าหนึ่งเหล็กจะแข็งที่สุดถ้าตึงต่อจะขาด เราจะเห็นจากเหล็กบางชนิดเช่นที่เขาใช้เสริมคอนกรีตทำเสาเข็มหรือเสาไฟฟ้า เส้นเล็กแต่แข็งมาก เหล็กที่ทำให้แข็งโดยวิธีนี้จะเปราะลงกว่าเดิมและแตกหักง่ายกว่า) เหล็ก G550 จะดึงให้มีค่า Yield Strength = 550 Mpa จะแข็งกว่า เหล็ก G300 เหล็ก G550 เหมาะสำหรับลอนคลิ๊ปล็อคและลอนทั่วไปที่ต้องการให้แข็งแต่ต้องไม่รีดให้เป็นมุมมากเพราะเหล็กเปราะหักง่าย ส่วนเหล็ก G300 เหมาะสำหรับลอนที่ติดตั้งด้วยระบบหนีบ(ลอนหัวจุก เช่น ลอน V-750) แต่รีดเป็นลอนทั่วไปก็ใช้ได้และมีข้อดีที่แม้ว่าเหยียบลอนหักก็เหล็กไม่แตก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโรงรีดแต่ละรายว่าจะใช้เหล็กแบบไหน
เปรียบเทียบคุณสมบัติของ Metal Sheet กับกระเบื้องคอนกรีต(ลอนคู่)
รายการ แผ่นหลังคาเมทัลชีท แผ่นหลังคากระเบื้องคอนกรีต
ราคา ถ้าพื้นที่มากจะถูกกว่า เมื่อคิดรวมโครงหลังคาแล้ว แพงกว่า เนื่องจากใช้โครงหลังคามากกว่า ใช้ฐานรากมากกว่า
ความลาดฃัน 1-5 องศา ไม่น้อยกว่า 15 องศา
น้ำหนัก 4.2 – 6.2 กก./ตร.ม. 49 กก./ตร.ม.
ความร้อน สะท้อนความร้อนได้ดีกว่า ทำให้ภายในอาคารเย็นลงทันทีในตอนค่ำ สะสมความร้อน ทำให้ร้อนกว่า
ความคงทน มากกว่า 15 ปี เริ่มแตกร้าวหลังการใช้งาน 5 ปี
การกันฝน กันฝนได้ดีเนื่องจากรอยต่อน้อยและสนิทกว่า มักมีปัญหาเรื่องน้ำรั่ว จากหลายสาเหตุ
ความสม่ำเสมอของสี สีสม่ำเสมอทุกรุ่นการผลิต สีและขนาดไม่สม่ำเสมอ
อันตรายต่อสุขภาพ ไม่มี อาจมีอันตรายจากเชื้อราและสีลอก
เสียงขณะฝนตก ดังกว่าเล็กน้อย เบากว่า
ปรึกษา-สอบถามรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายขาย สุวิทย์ มิสละ โทร 089 041 0489 Line id : suwitnik2535