ผลงานวิจัยวัสดุ Metal Deck SPT
ผลงานวิจัยวัสดุ Metal Deck SPT
ปรึกษาออกแบบพร้อมติดตั้ง Metal Deck,Shear Stud,Edge Form,End Closure โทร. 089 041 0489 Line id: suwitnik2535
ออกแบบ จำหน่ายและติดตั้ง Metal Deck, Steel Deck, Decking, Bond Deck, Shear Stud และ Stud Welding
ผลงานวิจัยวัสดุ Metal Deck SPT
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ Metal Sheet
ถ้างานที่ไม่ซับซ้อน ช่างที่ไม่เชี่ยวชาญมากก็สามารถมุงหลังคา Metal Sheet ได้เพราะงาน Metal Sheet ออกแบบมาให้ทำงานง่ายแต่ในกรณีที่งานมีความซับซ้อนการใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์สูงก็มีความจำเป็น เพราะถ้ามีปัญหาภายหลัง การแก้ไขเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากทำ
งานหลังคา Metal Sheet ที่ดี มีคุณภาพ เป็นอย่างไรMETAL DECK เป็นแผ่นเหล็กพื้นโครงสร้างที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักเพื่อใช้ในงานก่อสร้างพื้นประกอบ (COMPOSITE FLOOR SYSTEM) โดย (METAL DECK) จะทำหน้าที่เป็นเหล็กรับแรงดึง คอนกรีตจะมีหน้าที่รับแรงอัด สำหรับปุ่มนูนจะมีหน้าที่ต้านแรงเฉือน (EMBOSSMENT) ซึ่งจะทำให้คอนกรีตและแผ่นพื้น (METAL DECK) ไม่หลุดหรือไถลจากกัน เป็นพื้น (COMPOSITE SLAB) ตามที่ได้ออกแบบไว้อย่างสมบูรณ์ (METAL DECK) ยังทำหน้าที่เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีตและมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มสมรรถนะในการรับน้ำหนัก เสริมความมั่นคงแข็งแรงให้กับพื้นอาคารอีกด้วย
SHEAR STUD มีบทบาทและสำคัญมากในการต้านการแยกตัวออกจากกันระหว่างแผ่นเหล็กกับคอนกรีต ในการออกแบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ แรงยึดเหนี่ยวจะเป็นตัวควบคุมในการออกแบบพื้นแผ่นประกอบซึ่งในปัจจุบันวิศวกรคำนวนพฤติกรรมของพื้นแผ่นเหล็กประกอบ โดยใช้วิธิเชิงตัวเลข จะต้องทราบปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น คุณสมบัติของแผ่นเหล็ก คอนกรีต และเหล็กเสริมเป็นต้นดังนั้นในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ สามารถทำได้โดยเพิ่มตัวต้านแรงเฉือนตามแนวนอนถ่ายแรงลงสู่จุดรองรับและลดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างที่เรียกว่า SHEAR CONNECTOR หรือที่เรียกกันว่า SHEAR STUD
EDGE FORM ใช้ติดตั้งรอบนอกของอาคารทั้งหมดหรือช่องเปิดตามจุดต่างๆเพื่อป้องกันคอนกรีตไหลออกด้านข้าง เปรียบเสมือนไม้แบบข้าง โดยที่ไม่ได้รื้อออก
END CLOSER ใช้สำหรับปิดลอนตามแนวขวางของแผ่น Metal Deck ทั้งส่วนหัวและส่วนท้ายของระบบพื้นทั้งหมดเพื่อป้องกันการไหลของคอนกรีต
Steel Deck คือ แผ่นเหล็กพื้นโครงสร้างที่มีความสามารถรับน้ำหนัก สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างพื้นประกอบแบบ Composite Floor
ระบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ (Composite steel deck floor system) ที่ประกอบด้วยแผ่นเหล็กขึ้นรูปเย็น (Cold-Formed Steel Deck) กับคอนกรีตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบโครงสร้างอาคารในปัจจุบัน โดยระบบของพื้นแผ่นเหล็กประกอบ (Composite steel deck floor system) จะมีข้อดีอยู่ 3 ด้าน เมื่อเทียบกับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Slab) อย่างแรกคือ แผ่นเหล็กจะเป็นแม่แบบของพื้นในการเทคอนกรีตและช่วยรับน้ำหนักของคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัว อย่างที่สอง แผ่นเหล็กสามารถรับแรงดึงที่เกิดขึ้นและเป็นการลดแรงดึงในคอนกรีตที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้ง่าย รูปร่างหน้าตัดของแผ่นเหล็กจะมีลักษณะเป็นลอนซึ่งสามารถลดปริมาณคอนกรีตได้มาก ทำให้น้ำหนักของโครงสร้างลดลง สุดท้ายลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของโครงสร้าง ลดปริมาณเหล็กเสริม ลดขนาดคาน เสา ฐานราก ในส่วนของการก่อสร้างไม้แบบ ค้ำยัน คนงาน ค่าเช่าเครน การต้านแรงเฉือนที่เกิดขึ้นระหว่างคอนกรีตกับแผ่นเหล็กของระบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ สามารถทำได้โดยการทำให้แผ่นเหล็ก มีปุ่มนูนขึ้นมาซึ่งปุ่มนูนนี้ทำหน้าที่ให้แผ่นเหล็กกับคอนกรีตยึดติดกันและสามารถต้านแรงเฉือนที่เกิดขึ้นตามแนวนอนระหว่างกันได้ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วแผ่นเหล็ก จะไม่เป็นแม่แบบอย่างเดียว แต่จะท้าหน้าที่รับแรงดึงเหมือนกับเหล็กเสริมคอนกรีตทั่วๆไป ประสิทธิภาพของพื้นแผ่นเหล็กประกอบจะขึ้นอยู่กับการประสานกันระหว่าง แผ่นเหล็กกับคอนกรีต และแผ่นเหล็กต้องมีตัวยึดต้านแรงเฉือน (ShearConnector) เพื่อรับแรงเฉือนตามแนวนอนที่เกิดขึ้น แรงยึดเหนี่ยว (Shear Bond) มีบทบาทและสำคัญมากในการต้านการแยกตัวออกจากกันระหว่าง แผ่นเหล็กกับคอนกรีต การออกแบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ แรงยึดเหนี่ยวจะเป็นตัวควบคุมในการออกแบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบ ในปัจจุบันวิศวกรคำนวณพฤติกรรมของพื้นแผ่นเหล็กประกอบ โดยใช้วิธีเชิงตัวเลข เพื่อทดแทนการทดสอบด้วยขนาดจริง (Full Scale) การคำนวณพฤติกรรมของพื้นแผ่นเหล็กประกอบโดยวิธีเชิงตัวเลข จะต้องทราบปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น คุณสมบัติของแผ่นเหล็ก คอนกรีต และเหล็กเสริมเป็นต้น ซึ่งสามารถหาได้ด้วยการทดสอบไม่ว่าจะเป็นการทดสอบแบบเล็กหรือการทดสอบด้วยขนาดจริง ในระหว่างการก่อสร้างแผ่นเหล็กจะมีความแข็งแรงเพียงพอที่สามารถรับน้ำหนักของคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวและน้ำหนักของเครื่องมือที่เก็บของและคนงานบนพื้นคอนกรีตได้ ซึ่งจะมีความปลอดภัยในการก่อสร้าง
ปัจจุบันระบบพื้นแผ่นเหล็กประกอบได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในอาคารโครงสร้างเหล็ก โดยคุณสมบัติของแผ่นเหล็ก จะเป็นทั้งไม้แบบและเหล็กเสริมกำลังของพื้น ความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นแผ่นเหล็กประกอบ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการต้านแรงเฉือนระหว่างแผ่นเหล็กกับคอนกรีต เมื่อเกิดการเคลื่อนตัวระหว่างแผ่นเหล็กกับคอนกรีต ทำให้แผ่นพื้นเหล็กประกอบสูญเสียกำลัง การศึกษานี้เป็นวิธีการทดสอบเพื่อเพิ่มความสามารถในการต้านเเรงเฉือนของพื้นแผ่นเหล็กประกอบ โดยใช้ตัวต้านแรงเฉือนหรือPerfobond Rip ยึดติดกับพื้นแผ่นเหล็กประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธ์การประสานกันระหว่างแผ่นเหล็กกับคอนกรีตของพื้นแผ่นเหล็กประกอบปกติมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.27 เมื่อมีการเพิ่มตัวต้านแรงเฉือนพบว่าค่าสัมประสิทธ์การประสานมีค่าอยู่ระหว่าง 0.40-0.55 และพื้นแผ่นเหล็กประกอบสามารถรับน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้นถึง 60% การเคลื่อนตัวระหว่างแผ่นเหล็กกับคอนกรีตมีจุดประลัยมีค่าลดลง 50-60% เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นแผ่นเหล็กประกอบปกติ และทำให้คุณสมบัติของพื้นแผ่นเหล็กประกอบดีขึ้น
หากพูดถึงวัสดุโครงสร้างของบ้านที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีคงหนีไม่พ้น คอนกรีต และไม้ แต่นอกจากวัสดุโครงสร้างทั้งสองอย่างนี้แล้ว เหล็ก ก็เป็นวัสดุโครงสร้างอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศพอสมควร แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมในไทยมากนัก เนื่องจากราคาของเหล็กรูปพรรณนั้นค่อนข้างสูงกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบ้านโครงสร้างเหล็กในประเทศไทยเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างเหล็กสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว ทำให้ประหยัดค่าแรงซึ่งปรับตัวสูงขึ้นมากในปัจจุบัน จนค่าก่อสร้างโดยรวมของบ้านโครงสร้างเหล็กอาจจะสูงกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กไม่มากนัก แต่ประหยัดเวลาในการก่อสร้างไปได้มาก
ด้วยความที่บ้านโครงสร้างเหล็กยังเป็นของใหม่ในประเทศไทยพอสมควร จึงมักจะมีคำถามเกิดขึ้นกับเจ้าของบ้านอยู่เสมอว่า พื้นของบ้านโครงสร้างเหล็กมีแบบไหนบ้าง และก่อสร้างอย่างไร
พื้นของบ้านโครงสร้างเหล็ก สามารถทำได้ 3 แบบ คือ พื้นไม้หรือวัสดุทดแทนไม้ พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และพื้น Metal Deck
1. พื้นไม้ หรือวัสดุทดแทนไม้
บ้านโครงสร้างเหล็กจะคล้ายกับบ้านโครงสร้างไม้ คือมีการใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ เช่น เสา คาน ตง มาประกอบยึดเข้าด้วยกัน ดังนั้นการทำพื้นแบบที่ง่ายที่สุดของบ้านโครงสร้างเหล็ก คือการวางโครงสร้าง ตง และคานเหล็ก คล้ายกับบ้านโครงสร้างไม้ แล้วจึงปูแผ่นพื้นไม้ หรือวัสดุทดแทนไม้จำพวกซีเมนต์บอร์ดอย่าง แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือแผ่นไม้อัดซีเมนต์ ลงไปบนตง และติดตั้งวัสดุปูพื้น เช่น กระเบื้องเซรามิก ไม้ลามิเนต กระเบื้องยาง พรม เป็นต้น
2. พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป
ข้อแตกต่างระหว่างโครงสร้างเหล็กกับโครงสร้างไม้ คือโครงสร้างเหล็กแข็งแรงกว่า สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า จนสามารถรับน้ำหนักแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปได้ ซึ่งการทำพื้นแบบนี้สามารถทำได้โดยการวางแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปบนคานเหล็ก เสริมเหล็กตะแกรงด้านบนแผ่นพื้น แล้วเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) จากนั้นจึงติดตั้งวัสดุปูพื้นตามที่ต้องการ ซึ่งการทำพื้นแบบนี้จะให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับพื้นบ้านคอนกรีต
3. พื้น Metal Deck
พื้นแบบสุดท้ายเป็นพื้นที่สามารถใช้ในส่วนที่เปียก เช่น ห้องน้ำ หรือดาดฟ้าได้ โดยพื้น Metal Deck นี้จะประกอบไปด้วยแผ่นเหล็กรีดเป็นลอน (ซึ่งจะคล้ายๆ กับ แผ่นหลังคา Metal Sheet) นำมาวางบนคานเหล็ก ยึดด้วยหัวหมุดเหล็ก (Shear Stud) เป็นระยะ วางเหล็กตะแกรงกันร้าวด้านบน แล้วจึงเทคอนกรีตทับ จากนั้นก็สามารถติดตั้งวัสดุปูพื้นได้ตามปกติ พื้น Metal Deck นี้สามารถฝังท่องานระบบต่างๆ เช่น ท่อห้องน้ำ ได้เหมือนกับพื้นคอนกรีตหล่อในที่ โดยแผ่น Metal Deck จะทำหน้าที่เหมือนไม้แบบหล่อคอนกรีต และเป็นเหล็กเสริมความแข็งแรงไปในตัว ท้องพื้นชนิดนี้จะเห็นเป็นลอนโลหะ ซึ่งสามารถใช้เป็นฝ้าของห้องชั้นล่างได้ด้วย
บ้านโครงสร้างเหล็กสามารถทำพื้นได้หลากหลายไม่ต่างจากบ้านโครงสร้างคอนกรีต การเลือกใช้พื้นแต่ละประเภทจึงขึ้นอยู่กับการใช้งาน การรับน้ำหนัก ความชอบ และงบประมาณที่มี ทั้งนี้เพื่อความสมบูรณ์ และความปลอดภัยในการก่อสร้างเจ้าของบ้านควรที่จะปรึกษาสถาปนิก และวิศวกร ก่อนทุกครั้ง
Credit บทความ http://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/NewBuild/Building-Floor-for-Metal-Structure-House.aspx